Strawberry On Top Of Cupcake

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เรียนเคมีให้เข้าใจ ไม่ยาก !!!

เรียนเคมีให้เข้าใจ ไม่ยาก !!!

        วิชาเคมีนั่นเองครับ เรียกได้ว่าเด็กสายวิทย์ยังไง้ ยังไงก็ต้องเรียน ก็เลยมีเคล็ดลับเกี่ยวกับการเรียนเคมีให้เข้าใจมาฝากกันครับ ซึ่งมีข้อแนะนำดีๆ สำหรับน้องๆ  ที่อยากเรียนเคมีให้เข้าใจลองนำไปใช้กันดูครับ

เรียนเคมีให้เข้าใจ ไม่ยาก !!!
เรียนเคมีให้เข้าใจ ปฏิบัติ!!!
     1.ถ้าเป็นไปได้ ก็ขอให้อ่านเนื้อหาที่จะเรียนก่อนล่วงหน้า จะเข้าใจหรือไม่เข้าใจไม่สำคัญ ขอแค่ให้ศัพท์เคมีหรือเนื้อหาผ่านๆ ตาก็พอแล้ว
     2.เมื่อถึงเวลาเรียนก็ขอให้ตั้งใจฟังอาจารย์ จดสิ่งที่อาจารย์พูดย้ำๆหลายครั้ง เพราะมันคือสิ่งสำคัญของเนื้อหานั้นๆ (พยายาม)อย่าหลับ ถ้าไม่เข้าใจเนื้อหาตรงไหน ให้รีบถาม อย่าให้ค้างคาจนหมดคาบแล้วยังไม่รู้เรื่อง มันจะทำให้เราไม่เข้าใจและเบื่อไปในที่สุด  อ่านเพิ่มเติม
เรียนเคมีให้เข้าใจ ไม่ยาก !!!

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปริมาณสารสัมพันธ์

   ปริมาณสารสัมพันธ์ 
   

       ปริมาณสารสัมพันธ์   คือ ความสัมพันธ์ระหว่างมวลหรือน้ำหนักของธาตุต่าง ๆ ของสารประกอบใน
ปฏิกิริยาเคมี ปริมาณสารสัมพันธ์มีประโยชน์ในแง่ของการคาดคะเนปริมาณของสารที่ต้องใช้เป็นสารตั้ง
ต้นเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ
   
   ระบบเปิดระบบปิด
ระบบ ( System)   หมายถึง สิ่งซึ่งอยู่ในขอบเขตที่ศึกษา
ระบบเปิด (Open System) หมายถึง ระบบที่มีการถ่ายเทมวลของสารระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อมหรือระบบ ซึ่งมวลและพลังงานของสารก่อนการเปลี่ยนแปลงและหลังการเปลี่ยนแปลงมีค่าไม่คงที่ เช่น




วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สมบัติของเหลว

สมบัติของเหลว
        ของเหลวมีสมบัติที่แตกต่างออกไปจากของแข็งและแก๊ส ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงสมบัติของของเหลว 3 ประการ คือ  1.  ความตึงผิว  2. การระเหย  3. ความดันไอ
ความตึงผิว ( surface tension)
       ถึงแม้โมเลกุลของของเหลวสามารถเคลื่อนที่ได้ตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง แต่การเคลื่อนที่ของแต่ละโมเลกุลก็จะขึ้นอยู่กับแรงดึงดูดและอิทธิพลของโมเลกุลอื่นๆที่อยู่ข้างเคียงด้วยเช่นกันพิจารณารูปต่อไปนี้


      เมื่อพิจารณาโมเลกุลเพียงหนึ่งโมเลกุลที่ถูกล้อมรอบด้วยโมเลกุลอื่นๆ พบว่า โมเลกุลที่อยู่ภายในของของเหลวจะได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลอื่น ๆ ที่อยู่ล้อมรอบเท่ากันทุกทิศทาง ในขณะที่โมเลกุลที่อยู่ที่บริเวณผิวหน้าของของเหลว จะได้รับแรงดึงดูดเฉพาะโมเลกุลที่อยู่ด้านข้างและด้านล่างเท่านั้น โมเลกุลที่อยู่บริเวณผิวหน้าจึงมีเสถียรภาพน้อยกว่าโมเลกุลที่อยู่ภายในดังนั้นการลดพื้นที่ผิวของของเหลวจึงเป็นการลดจำนวนโมเลกุลที่บริเวณผิว ซึ่งจะทำให้ของเหลวมีเสถียรภาพมากขึ้น

การระเหย (evaporation)
            จากที่ได้ทราบมาแล้วว่า โมเลกุลของของเหลวไม่ได้อยู่นิ่งกับที่ แต่จะเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ก็แสดงว่าโมเลกุลของของเหลวแต่ละโมเลกุลจะต้องมีความเร็ว หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ โมเลกุลของเหลวมีพลังงานจลน์ เมื่อโมเลกุลมีการเคลื่อนที่ ย่อมจะทำให้เกิดการชนกันของโมเลกุลที่อยู่ในของเหลว สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ทำให้โมเลกุลของของเหลวมีการแลกเปลี่ยนพลังงานซึ่งกันและกัน หลังจากที่เกิดการชนของโมเลกุล อาจจะทำให้โมเลกุลหนึ่งมีพลังงานจลน์เพิ่มขึ้น และอีกโมเลกุลหนึ่งอาจจะมีพลังงานจลน์ลดลง ซึ่งในที่สุด จะทำให้แต่ละโมเลกุลของของเหลวมีพลังงานจลน์แตกต่างกัน ซึ่งอาจจะสูงกว่าหรือต่ำกว่าพลังงานจลน์เฉลี่ย
    โมเลกุลที่มีพลังงานจลน์สู ก็จะเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลและในที่สุดก็จะหลุดออกไปจากผิวหน้าของของเหลว และกลายเป็นแก๊สเรียกกระบวนการที่โมเลกุลของของเหลวบริเวณผิวหน้าหลุดออกไปเป็นแก๊สว่า การระเหย (evaporation)
ในของเหลวชนิดเดียวกัน โดยทั่วไปแล้ว เมื่ออุณภูมิของของเหลวสูงขึ้นจะทำให้อัตราการระเหยเร็วกว่าของเหลวที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าเมื่อโมเลกุลระเหยออกไปแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนแปลง คือ จะทำให้พลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลที่เหลือมีค่าลดลง และทำให้อุณหภูมิของของเหลวลดลงตามไปด้วย เพราะพลังงานความร้อนส่วนหนึ่งถูกใช้กับการระเหยดังนั้น ปัจจัยที่ผลต่ออัตราการระเหยของของเหลว ก็คือ อุณหภูมิ พื้นที่ผิวหน้า และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล อ่านเพิ่มเติม


3 ความดันไอ (vapor pressure)
             พิจารณารูปต่อไปนี้ สมมติว่า ในภาชนะ ซึ่งเป็นหลอดแก้วปิด บรรจุของเหลวชนิดหนึ่ง


  โดยทั่วไป เมื่อของเหลวหนึ่งๆ บรรจุอยู่ใน ภาชนะเปิด เมื่อทิ้งไว้ระยะหนึ่ง จะเห็นว่า ในที่สุดของเหลวนี้จะระเหยไปหมด ไม่มีของเหลวเหลืออยู่แต่ถ้านำของเหลวไปบรรจุใน ภาชนะปิด โดยวางภาชนะนี้ไว้ในที่สภาวะเดียวกันมีอุณหภูมิ และความดันเดียวกัน เมื่อทิ้งไว้ในระยะเวลาหนึ่งจะพบว่ามีไอซึ่งเกิดจากการระเหยปรากฏอยู่เหนือของเหลวนี้ ไอของโมเลกุลของเหลวที่อยู่เหนือของเหลวนี้จะวิ่งชนกับผนังของภาชนะ จึงทำให้เกิดความดัน เราเรียกว่า ความดันไอ (vapor pressure)    อ่านเพิ่มเติม